ค่ายเด็ก2567 การพัฒนาเด็กและเยาวชน ค่ายรักลูกให้ถูกธรรมได้เริ่มดำเนินการเป็นครั้งแรกขึ้นในปี พุทธศักราช 2554 เริ่มจัดกิจกรรมค่ายปิดเทอม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อดำเนินกระบวนการจัดการอบรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ตามแนวคิดการพัฒนาเด็ก ตามหลักพระพุทธศาสนา 4 ด้าน คือ ด้านกายภาวนา ด้านศีลภาวนา ด้านจิตตภาวนา และด้านปัญญาภาวนา ด้วยการจัดกิจกรรมบูรณการพระพุทธศาสนพัฒนากับศาสตร์สมัยใหม่ โดยใช้การปรับองค์ความรู้ให้เชื่อมโยงเครือข่าย การมีส่วนร่วมของเด็กๆ และผู้ปกครอง กับสถาบันทางศาานา ชุมชน บ้าน สถาบันการศึกษา ได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่นำไปสู่การพัฒนา เด็ก ให้กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออกอย่างมีคุณธรรม พัฒนาศักยภาพ ของครอบครัว ชุมชน เติมเต็มสังคม เป็นสุข
ค่ายพัฒนาเด็ก และเยาวชน การอบรมของค่ายรักลูกให้ถูกธรรม เป็นการพัฒนาที่มีเป้าหมายในการปลูกฝังคนให้เกิดคุณธรรม แล้วคนๆ นั้นสามารถกลับไปพัฒนาตนเอง ครอบครัว และผู้อื่นต่อไปได้ ตามหลักการพัฒนาศีล สมาธิ ปัญญา ที่มองว่าเห็นว่า ความรู้ที่เกิดจากการฝึกฝนจนเกิดปัญญาในทางพุทธศาสนามีความระเอียดลึกซึ้ง นอกเหนือจากการสังเคราะห์ความคิดเป็นทฤษฎีต่างๆ แล้วนำมาใช้เป็นเครื่องมือแบบวิทยาศาสตร์ ซึ่งในทางปฏิบัติจริง หลักการ ทฤษฎีเหล่านี้อาจไม่สามารถนำไปใช้ได้กับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ปัญญาที่เกิดจากการคิดพิจารณาด้วยการอาศัยข้อมูลทางศาสตร์ตะวันตกต่างๆ เมื่อถึงเวลาหนึ่งอาจไม่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงทั้งหมดก็ได้ได้ แต่ในอีกทางหนึ่งกลับพบว่า หลักการของศาสนาพุทธมีกระบวนการปลูกฝังให้คนเกิดปัญญา และสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาเด็กได้
ค่ายเด็ก ค่ายปิดเทอม แนวทางการฝึกอบรมเด็กของค่ายรักลูกให้ถูกธรรมได้มีมุมมองที่แตกต่าง จากการที่พ่อแม่ส่วนใหญ่อาจอยากมุ่งให้เด็กเก่ง แต่หากลองพิจารณาดูว่าความเก่งของเด็กนั้นเราสามารถเติมเรื่องของปัญญาโดยใช้ทฤษฎีทางศาสตร์ต่างๆได้ ทางการศึกษาพระพุทธศาสนาความเก่งแบบนี้ยังไม่นับว่าบุคคลนั้นจะสามารถบรรลุถึงขั้นสูงสุดของการพัฒนาตนเอง ซึ่งการพัฒนาตนเองขั้นสูงสุดนั้นจะต้องมีการพัฒนาจากภายในจิต การพัฒนาในด้านจิตใจนี้ คือ การปลูกฝังความดีงามทางด้านคุณธรรม จริยธรรมที่เกิดจากปัญญาประกอบเข้ามา ดังเช่นการฝึกอบรมเด็กตามหลักภาวนา 4 พัฒนากาย ศีล จิต และปัญญา ที่ทางค่ายรักลูกให้ถูกธรรมได้นำมาประยุกต์กิจกรรมที่ให้เด็กๆ เข้าใจและง่ายต่อการเรียนรู้ จะสามารถบ่มเพาะคนโดยการส่งเสริมความดีงามทางจิตใจเพื่อเด็กเกิดปัญญาทางคุณธรรมได้ โดยใช้รูปแบบการอบรมผ่านกิจกรรม เช่น การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจุบันให้เด็กได้ลงมือแก้ไข หรือการส่งเสริมคุณธรรมไปพร้อมกับครอบครัว ในแนวทางสร้างสรรค์สังคม เพื่อสร้างโลกที่มีความมั่นคงทางจิตใจสำหรับเด็กได้
(update เดือน ,uี.ค. 2564) แนวคิดการสร้างความสุขของครอบครัวตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงจากศาสตร์ของพระราชา ในค่ายรักลูกให้ถูกธรรม : เมื่อเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อการดำเนินชีวิต ค่านิยมสังคมไทย และวัฒนธรรมเดิมได้เปลี่ยนผ่านไปสู่วัฒนธรรมการใช้ชีวิตใหม่ ยังผลให้ผู้คนขาดสมดุลในการดำเนินชีวิตกับครอบครัว เป็นหนึ่งในปัญหาที่มีผลกระทบอย่างมากกับเด็ก และวัยรุ่น ในครอบครัวสมัยใหม่มีการศึกษาที่พบว่า ในขณะที่หลายครอบครัวมีสมาชิกต่างวัยอยู่ร่วมกัน ได้อาศัยเทคโนโลยีช่วยให้เกิดการใช้ชีวิต ง่ายๆ สบายๆ จนหลายครอบครัวที่อาศัยอยู่บ้านเดียวกันแต่ในความเป็นจริงแทบจะไม่ได้ใช้เวลาอยู่ด้วยกันอย่างแท้จริงเลย เช่น เด็กๆ ติดเกมส์ ติดการใช้โซเซี่ยลมีเดีย พ่อแม่ติดการชมรายการทีวี ซื้อสินค้าบนโซเซี่ยล ชื่นชอบที่จะพูดคุยกันผ่านสังคมออนไลน์ การพึ่งพาเทคโนโลยีที่เปิดกว้างจนขาดความพอดีอาจนำไปสู่ความไม่ลงรอยกันระหว่างสมาชิก ต่างเพศ ต่างวัย ในครอบครัวได้ และกระทบต่อการสร้างความสุขในบ้านเป็นอย่างมาก ค่ายรักลูกให้ถูกธรรม เห็นด้วยกับมุมมองว่า หากการตั้งเป้าหมายชีวิตให้ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของมนุษย์เป็นไปเพื่อเพิ่มความสุขที่ไม่ใช่เพียงแต่การเพิ่มการบริโภคหรือเพิ่มมูลค่าทางการเงิน ดังที่ในมีข่าวจากหลายประเทศเริ่มเห็นด้วยกับการสร้างความสุขของคนในประเทศด้วยการใช้ดัชนีวัดความสุขมวลรวมประชาชาติ มาเป็นตัวชี้วัดความก้าวหน้าของประชาชน แทนความสามารถบริโภคตามกระแสจนเกินความพอดี
ค่ายรักลูกให้ถูกธรรม กลุ่มธรรมะแค้มป์ จึงได้นำแนวคิด ในการสร้างความสุขของครอบครัวตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ที่น้อมนำปรัชญาการดำเนินชีวิตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10 ตามแนวคิด ตามรอยเท้าพ่อ ประกอบด้วย ความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มีความรู้ มีคุณธรรม มาทำการศึกษา ในระดับสถาบันครอบครัว และนำภูมิปัญญาทางศาสนาควบคู่กับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจากศาสตร์ของพระราชา เป็นฐานของการบูรณาการการให้ความรู้ในการเสริมสร้างการพัฒนาทักษะด้านกาย ศีล จิตและปัญญา ทักษะทางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ครอบครัว และการมีความจะรับผิดชอบต่อสังคม ในการเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาให้ประชาชนมีความสุขในครอบครัวของตนเอง โดยการจัดการอบรมการให้ความรู้ให้แก่เด็ก เยาวชน และครอบครัว เพื่อเป็นส่วนที่ช่วยในการส่งเสริมให้คนในสังคมมีการดำเนินชีวิตของครอบครัวที่สอดคล้องกับค่านิยมในปัจจุบันอย่างมีความสุขบนแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง